บทความรวม


http://myfriendsofmylife.blogspot.com/

ศาสตร์แห่ง Aromatherapy


.










AROMA THERAPY เป็นที่รู้จักกันมานานกว่า 6,000 ปี เริ่มต้นใช้ในอียิปต์ ชาวอียิปต์มักใช้การเผา ให้ได้มาซี่งกลิ่นหอมเพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น กลิ่น FRANKINCENSE บูชาพระอาทิตย์ กลิ่น RA และ MYRRH บูชาพระจันทร์ นอกจากนี้ชาวอียิปต์ยังใช้กลิ่นจากพืชธรรมชาติเพื่อความสดชื่น นิยมใช้กับน้ำมันนวดและผสมลงในอ่างแช่ ต่อมาชาวกรีกได้นำ AROMATIC OILS (น้ำมันหอมระเหย) เพื่อนำมาใช้บำบัดรักษา แพทย์กรีกผู้หนึ่งชื่อ PEDACIUS DIOSCORIDES ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพืชสมุนไพรกับการแพทย์ไว้ เมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว และหลักการนี้ก็ยังใช้อยู่จนปัจจุบันนี้

    ชาวโรมันได้รับความรู้ทางการแพทย์ด้วยการใช้กลิ่นบำบัดรักษามาจากชาวกรีกและ ได้พัฒนาหลักความรู้นี้ผสมผสานกับศาสตร์อื่น เช่น การนวดและการอาบและถือได้ว่าชาวโรมันเป็นชาติแรกที่ทำการค้าเกี่ยวกับอโร มา-เธอราปี คือ ได้นำเข้าผลิตภัณฑ์อโรมา จากอินเดียตะวันออกและจากอาราเบีย

    ความรู้เกี่ยวกับอโรมาออยล์และน้ำมันหอมแพร่กระจาย และได้รับความนิยมมากขึ้นหลังสงครามครูเสด ระหว่างปี ค.ศ.980-1037 นายแพทย์ อวิเซนา ชาวอาหรับได้คิดวิธีกลั่นน้ำมันหอมระเหยขึ้นเป็นครั้งแรก และการกลั่นนี้ก็ยังเป็นวิธีการสกัด กลิ่นหอมง่ายอีกวิธีหนึ่งจนถึงทุกวันนี้ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่า ในทวีปเอเชียชาวจีนรู้จักวีธีใช้พืชสมุนไพรและกลิ่นหอมมานานพอๆ กับชาวอียิปต์ ในหนังสือสมุนไพรเล่มหนึ่งของจีนมีการจดบันทึกไว้เมื่อ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนสามารถแยกสารหอมจากพืชธรรมชาติได้มากกว่า 300 ชนิด และเช่นเดียวกับชาวอียิปต์ ชาวจีนก็ใช้การเผาไม้หอม เพื่อบูชาเทพเจ้า

    ในสังคมไทยหากจะกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงโปรดปรานเครื่องสุคนธรสแล้ว คงจะต้องกล่าวถึงพระนามของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ได้เขียนถึงพระองค์ไว้ในปราสาทภูเขาทองว่า
    “เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ
    ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
    สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธรา
    วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์”

    การนำกลิ่นหอมมาใช้กับการนวดนั้นมีมาแต่โบราณ ในการแพทย์สาขาอายุรเวทการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย การนำกลิ่นหอมมาผสมกับน้ำมันหรือครีม-ไขมันสัตว์ต่างๆ จะเป็นที่รู้จักและใช้กันมานาน แต่การใช้อโรมา (กลิ่นหอม) ในสมัยโบราณก็ยังไม่มีการค้นคว้าอย่างจริงจังถึงคุณสมบัติ และสรรพคุณของสารหอมที่มาแต่ละชนิด ต่อมาจนกระทั่ง เมื่อต้นศตวรรษที่ 19 นี่เองที่ได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า AROMA THERAPY ขึ้นโดย RENE MAURICE GATTEFOSSE นักเคมีชาวฝรั่งเศส จากนั้นไม่นานชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ALBERT COUVERUR ได้จัดพิมพ์ตำราเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยขึ้นจากแนวศึกษาของ GATEFOSSE นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ JEAN VALNET ได้ศึกษาค้นคว้าทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันหอม ระเหย และนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ MARGARET MAURY ได้พัฒนาการใช้น้ำหอมระเหยกับการนวด และจากค้นคว้าของทั้ง 2 คนนี้ ทำให้ MICHELINE ARCIER เชื่อวิธีการของ MAURY และ VELNET เข้าด้วยกันจนทำให้ AROMA THERARY เป็นที่นิยมไปทั่วโลก









สุคนธบำบัดคืออะไร
สุคนธบำบัด (Aromatherapy) เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก

“Aroma” หมายถึง ความหอม หรือกลิ่น
“therapy” หมายถึง การบำบัดรักษา
Aromatherapy มีความหมายโดยรวมว่า การบำบัดด้วยอากาศ ซึ่งรวมไปถึงการบำบัดรักษาด้วยการใช้กลิ่นหรือเครื่องหอม

สุคนธบำบัดถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2471 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส เรเน่มัวริส กาเต้ฟอเซ่ (Rene Maurice Gattefosse) ซึ่งได้ค้นพบคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อของน้ำมันลาเวนเดอร์โดยบังเอิญ และได้รับฉายาว่า “บิดาแห่งสุคนธบำบัด” จากนั้น มากาเร็ต มอรี (Magaret Maury) และ มิเชอลิน อาซีเยร์ (Micheline Arcier) ได้ นำศาสตร์ แห่งการบำบัดรักษาด้วยกลิ่นเข้าไปยังเกาะอังกฤษ และได้พัฒนาการใช้ผสมผสานกับการนวดในการรักษาคนไข้ จนทำให้ศาสตร์แห่งการบำบัดด้วยกลิ่นและการนวดเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน องค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในสุคนธบำบัดคือน้ำมันหอมระเหย (essential oil) และต้องเป็นน้ำมันหอมระเหยที่สกัดมาจากพืชเท่านั้น หากเป็นน้ำหอมที่สังเคราะห์ขึ้นจะไม่ส่งผลต่อการบำบัดรักษา หรือฆ่าเชื้อ หรือทำให้จิตใจสงบ น้ำมันหอมระเหยเข้า สู่ร่างกายโดยทางผิวหนังและการสูดดม หากได้รับผ่านทางผิวหนังก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปมีผลต่อระบบอวัยวะ ต่างๆ และถูกขับออกได้เช่นเดียวกับโมเลกุลของยา

การสูดดม น้ำมันหอม ละเหย โมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยจะซึมผ่านเยื่อบุช่องจมูกหรือลงสู่ปอดและเข้าสู่ กระแสเลือดได้เช่นกัน ขณะเดียวกัน โมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยที่สูดดมเข้าไปจะไปจับกับตัวรับ (receptor) บนเยื่อบุช่องจมูก และแปรสัญญาณเป็นสื่อระบบประสาทหรือสัญญาณทางไฟฟ้าเคมีผ่านไปยังส่วนของสมอง ที่เรียกว่า ลิมบิกซิสเต็ม (Limbic system) ซึ่ง เป็นส่วนที่ควบคุมการเรียนรู้ ความจำ ความรู้สึกสัมผัส เพศ อารมณ์และระบบย่อยอาหาร มีผลกระตุ้นหรือระงับระบบประสาทและสมองรวมทั้ง ระบบต่อมไร้ท่อต่างๆ แล้วแต่โครงสร้างทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยชนิดนั้นๆ โดยกลิ่นที่เข้ามากระตุ้น ลิมบิกซิสเต็มจะทำให้สมองปล่อยสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งช่วยลดความเจ็บปวด เอนเคฟาลิน (enkephaline) ช่วยทำให้อารมณ์ดี และซีโรโทนิน (serotonin) ซึ่ง ช่วยให้สงบเยือกเย็นและผ่อนคลาย ดังนั้น น้ำมันหอมระเหยจึงถูกนำมาใช้บำบัดโรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และจิตใจ ตลอดจนการหลั่งฮอร์โมนบางชนิดด้วย







 


น้ำมันหอมระเหย (ESSENTIAL OIL)

น้ำมันหอมระเหยเป็นผลิตผลจากการสกัดพืชสมุนไพรนานาชนิด ซึ่งอาจสกัดมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชนั้นๆ เช่น สกัดมาจาก ผล ดอก ใบ เมล็ด เปลือก ก้าน ฯลฯ วิธีการสกัดที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ การกลั่นด้วยไอน้ำ และการใช้สารเคมีเป็นตัวทำลายหลังจากการสกัดน้ำมันหอมระเหยที่ได้จะถูกนำมา สังเคราะห์ เพื่อกลั่นแยกหาสารต่างๆ ที่มีกลิ่นหอม สารเหล่านี้เองที่จะถูกนำมาคัดเลือก ผสมผสานและสร้างขึ้นมาใหม่ๆ AROMA THERAPY กับการบำบัดรักษาโรคผ่านศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหย-และการนวด

เนื่องด้วย อโรมา-เธอราปี เป็นการรวมศาสตร์และศิลป์ของกลิ่น-น้ำมันหอมระเหย-และการนวดเข้าด้วยกัน โดยอโรมา-เธอราปี เป็นการบำบัดโรคเพื่อจุดประสงค์ให้เกิดความสมดุล ของร่างกาย-จิตใจ-และอารมณ์ การนำเอาวิธีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ ร่วมกับกลิ่นหอมที่อยู่ในสารหอม หรือน้ำมันหอมระเหย จึงเป็นอีกหลายทางเลือกที่มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องมาตลอดระยะเวลาหลาย พันปี จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ 8 วิธีทางเลือกกับ AROMA THERAPY

    1. การนวด (MASSAGE) เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะด้วยสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดจะสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคได้ ด้วยยาจะซึมผ่านผิวหนังด้วยการนวด ส่วนกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้ประสาทสัมผัสรับกลิ่นปรับอารมณ์ให้ รู้สึกสบายขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้นการใช้น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพดี และเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการในการบำบัดจะทำให้การนวดมีประสิทธิภาพ ขึ้น

    2. การอาบ (BATHS) เป็นวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำเองได้ คือ ผสมน้ำอุ่นในอ่างน้ำสำหรับลงแช่ได้แล้วหยดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 6-8 หยด ลงในอ่างน้ำแล้วลงแช่ทั้งตัวสักประมาณ 20 นาที ไอระเหยจากอ่างน้ำอุ่นและการซึมทางผิวหนังด้วยการแช่จะช่วยให้รู้สึกสดชื่น ขึ้น

    3. การประคบ (COMPRESSES) ใช้ผ้าขนหนูสะอาด ๆ ชุบน้ำที่ผสมน้ำมันหอมระเหยแล้วประคบตามบริเวณที่ต้องการ (ห้ามประคบบริเวณดวงตา) ส่วนผสมใช้น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด ในชามที่เตรียมน้ำอุ่นไว้แล้วก้มลงสูดดมสัก 2-3 นาที หยดน้ำมันหอมระเหย 1-2 หยด ในผ้าเช็ดหน้าแล้วสูดดม (ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำมันหอมระเหยโดยตรง)

    4. การสูดดม (INHALATIONS) เป็น การใช้กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยอย่างเดียวไม่มีการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดดมกลิ่นหอมทำได้ 2 วิธีคือ ใส่น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด ในชามที่เตรียมน้ำอุ่นไว้แล้วก้มลงสูดดมสัก 2-3 นาที หยดน้ำมันหอมระเหย 1-2 หยด ในผ้าเช็ดหน้าแล้วสูด ดม (ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำมันหอมระเหยโดยตรง)

    5. การสูดไอน้ำ (VAPORISATION) น้ำมันระเหยบางชนิด เป็นแอนดีเซปติก (ANTISEPTIC) ฆ่าเชื้อโรคได้เมื่อสูดดมไอน้ำจากน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้เข้าไปจะช่วยกำจัด เชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจได้วิธีทำหยดน้ำมันหอมระเหย 2-4 หยด ลงในชามใหญ่ ซึ่งผสมน้ำร้อนไว้แล้ว ใช้ผ้าคลุมและก้มหน้าลงเข้าไปอังไอน้ำ สูดไอน้ำร้อนผสมน้ำมันหอมระเหย พักเป็นระยะ ๆ วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องผิวบาง และไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นหอบหืด

    6. การเผา-อบห้อง เป็นการอบห้องให้หอม หลักการอบห้องเพื่อฆ่าเชื้อโรคในโรงพยาบาลก็ใช้หลักการนี่เช่นกัน เพราะน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อถูกอบอวลในห้องที่ปิดมิดชิดสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ในกรณีที่ต้องการ ให้ห้องหอมตามกลิ่นที่ต้องการก็สามารถทำได้โดยหยดน้ำมัน หอมระเหย 3-4 หยด ในน้ำที่เตรียมใส่ในจานสำหรับเผา (AROMA JAR) แล้วจุดเทียนไว้ในห้อง ความร้อนจากเทียนจะทำให้กลิ่นหอมจากน้ำ ผสมน้ำมันหอมระเหยส่งกลิ่นอบอวลไปทั่วห้อง ควรเผา-อบไม่นานกว่า 10 นาทีต่อครั้ง

    7. ใช้ผสมกับเครื่องหอมและน้ำมันหอม ส่วนมากเครื่องหอม เช่น บุหงา และน้ำหอมจะมีส่วนผสมจากกลิ่นไม้หอม หรือกลิ่นจากดอกไม้นานาพันธุ์ ผสมอยู่ การใช้เครื่องหอมและน้ำหอม ส่วนมากจะมีจุดประสงค์ให้เกิดความสบายใจ สะอาด สดชื่น และเป็นที่เราใจตราตรึงใจจากผู้คนที่อยู่ ใกล้

    8. ใช้ผสมกับเครื่องสำอาง ครีม โลชั่น ความหลากหลายของคุณสมบัติเฉพาะจากน้ำมันหอมระเหยสามารถช่วยให้เครื่องสำอาง ครีมและโลชั่น ต่าง ๆ กลายเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย ผิวหน้า เส้นผมและสารสกัดบางชนิดยังช่วยในการทำความสะอาดผิวหนัง สร้างความสมดุลให้ผิวอีก ด้วย แต่การเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด ต้องพิถีพิถัน และศึกษาให้รู้จริงว่า สารชนิดใด มีคุณสมบัติเช่นใด จึงจะก่อประโยชน์สูงสุด 









เคล็ดลับรู้คุณภาพของน้ำมันหอมระเหย

1  ระเบียบของน้ำมันหอมระเหย : FDA ควบคุมการน้ำมันหอมระเหยผ่าน Federal อาหารยาและเครื่องสำอางพระราชบัญญัติและอาหารเสริมสุขภาพและพระราชบัญญัติการศึกษา  พระราชบัญญัตินี้ควบคุมการอาหารทุกวัตถุเจือปนอาหารเครื่องสำอางและอาหารเสริม  ตามพระราชบัญญัตินี้ FDA เห็นน้ำมันหอมระเหยจากการใช้ของ -- การรักษาหรือเครื่องสำอางวัตถุประสงค์  ตัวอย่างเช่นหากผู้ผลิตน้ำหอม, หาน้ำมันหอมระเหยคุณภาพเกรด FDA จะใช้น้ำมันตามที่ระบุในน้ำหอม  ในทางเดียวกัน FDA จะควบคุมน้ำมันเป็นยาหากมีการใช้ความช่วยเหลือที่เลิกสูบบุหรี่หรือเพื่อการรักษาหรือป้องกันโรคใดๆ

อื่น FDA มีร่างกายต่างประเทศที่ควบคุมน้ำมันหอมระเหย เหล่านี้รวมถึง AFNOR หรือสมาคมสมาคม de Normalisation และ ISO หรือองค์การระหว่างประเทศเพื่อการมาตรฐาน

2 ทราบชื่อ Latin : หากคุณวางแผนที่จะซื้อน้ำมันหอมระเหยคุณจะต้องสอบถามผู้ผลิตบางสิ่ง : ชื่อละตินของพืช (ใช้ในการเตรียมน้ำมัน) วิธีการเลี้ยงและการปฏิบัติที่ใช้ตรวจสอบของชื่อ ประเทศหรือภูมิภาคที่โรงงานได้รับการปลูก ฯลฯ ใช้เวลา familiarizing ตัวเองด้วยน้ำมันหอมระเหยและเรียนรู้ที่จะแยกแยะระหว่างน้ำมันหอมระเหยและ น้ำมันหอมสังเคราะห์

3 ทดสอบน้ำมันกลิ่นของ : คุณสามารถทดสอบน้ำมันหอมระเหยหากคุณเรียนรู้ที่จะระบุบนกลางและบันทึกท้ายของน้ำมัน นำเข้าลดลงของน้ำมันบนแถบทดสอบน้ำหอมกวาดเศษผ้าหรือกระดาษเช็ด กลิ่นหอมเป็นระยะ กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยสวยซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงกับทุกขั้นตอนของการระเหย กรณีนี้ไม่ได้กับกลิ่นสามัญ ยังบริสุทธิ์ไม่เจือปนน้ำมันจะไม่ออกจากจุดมันหรือเลี่ยนบนแถบ

4 Gas Chromatography / Mass Spectroscopy (GC / MS) : นี้มีสองห้องปฏิบัติการทดสอบที่สามารถช่วยคุณกำหนดองค์ประกอบสำคัญของน้ำมันและคุณภาพ น้ำมันแต่ละผ่าน Chromatograph หลังจากที่ที่จะขยายองค์ประกอบบริสุทธิ์และตรวจพบโดย Mass Spectroscopy . แม้ว่า GC / MS เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพก็ไม่สามารถกำหนด diluents สังเคราะห์และธรรมชาติของน้ำมัน High Performance Liquid Chromatography (HPLC) เป็นวิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยอื่น

ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil)

1.     ก่อนใช้น้ำมันหอมระเหยควรทดสอบว่าแพ้น้ำมันหอมระเหยชนิดนั้นหรือไม่เพราะแต่ละบุคคลมีการ ตอบสนองต่อสารเคมีแตกต่างกัน

2.     ไม่ควรหยดน้ำมัยหอมระเหยลงบนผิวหนังโดยตรง

3.     ควรเจือจางน้ำมันหอมระเหยด้วย carrier oil ก่อนใช้  เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยที่เข้มข้นอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ และไม่ควรให้น้ำมันหอมระเหยสัมผัสบริเวณรอบดวงตาและผิวที่อ่อนบาง

4.     ไม่ควรรับประทานน้ำมันหอมระเหย  นอกจากได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

5.     ต้องให้แน่ใจว่าน้ำมันหอมระเหยนั้นไม่มีพิษ ไม่ก่อให้เกิดการไวต่อแสงหรือระคายเคืองต่อผิวหนัง (น้ำมันโหระพา น้ำมันอบเชย น้ำมันกานพลู น้ำมันสะระแหน่) หรือทำให้เกิดการแพ้ง่าย (น้ำมัน ตะไคร้หอม น้ำมันกระเทียม น้ำมันขิง น้ำมันมะลิ น้ำมันมะนาว น้ำมันตะไคร้ น้ำมันขมิ้น)

6.     ไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยบางอย่าง เช่น hyssop,น้ำมันโรสแมรี่ rosemary,น้ำมันเซจ sage และน้ำมันไทม์ thyme กับผู้ที่   เป็นโรคลมชัก และผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

7.     ผู้ป่วย Homeopathic ไม่ควรใช้ น้ำมันพริกไทดำ น้ำมันการบูร น้ำมันยูคาลิปตัสและน้ำมันสะระแหน่

8.     สำหรับเด็ก และสตรีมีครรภ์ต้องระวังเป็นพิเศษ ระหว่างการมีครรภ์ ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนแรกไปแล้ว ไม่ควรใช้น้ำมันหอม Sweet Fennel, Peppermint, Rose

9.     สำหรับ ผู้ที่ตั้งครรภ์ มีข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหยปริมาณเพียงครึ่งหนึ่งของที่ระบุไว้และ ดูว่าน้ำมันหอมระเหยนั้นมีข้อควรระวัง สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรือไม่ สตรีที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ควร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยต่อไปนี้ คือ น้ำมันโหระพา น้ำมันกานพลู น้ำมันเปปเปอร์มินต์ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันโรสแมรี่ น้ำมันแคลรี่เซจ ( clary sage oil ) น้ำมันไทม์ (thyme oil) น้ำมันวินเทอร์กรีน (wintergreen oil) น้ำมันมาร์โจแรม (marjoram oil) และเมอร์ (myrrh)

10. ทารกและเด็กต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ตามขนาดที่ปรับเข้ากับอายุ

11. น้ำมันหอมระเหยบางชนิดเหนี่ยวนำให้ผิวหนังมีความไวต่อแสง (Photosensitive) เช่น น้ำมันมะกรูด  น้ำมันมะนาว  น้ำมันผิวส้ม  ฯลฯ  ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรงภายหลังจากการใช้น้ำมันเหล่านี้เป็นเวลาอย่างน้อยที่สุด  4  ชั่วโมง

12. ข้อควรจำอื่นๆ

   * เมื่อจับต้องน้ำมันหอมแล้วให้ล้างมือทุกครั้ง ป้องกันความเผลอเรอในการหยิบอาหารเข้าปาก
     หรือ ขยี้  ตา
   * การผสมแต่ละครั้ง ไม่ควรผสมในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจทำให้เสียก่อนใช้หมด
     โดยมาก ผลิตภัณฑ์ที่ผสมน้ำมันหอมแล้ว มีอายุ 2-6 เดือน
   * ไม่ควรใช้น้ำมันหอมตัวใดตัวหนึ่งเป็นเวลาติดต่อกันนานเกินไป ควรพักหรือสลับไปใช้ตัวอื่นบ้าง
   *  ควรเก็บน้ำมันหอมระเหยในขวดที่มีสีเข้ม ปิดสนิท ในที่ปลอดภัย ห่างจากมือเด็ก และเปลวไฟ









 หลักธาตุเจ้าเรือน

การแพทย์แผนไทย ใช้หลักธาตุเจ้าเรือนในการจำแนกคนและเลือกสมุนไพรในการรักษา เพื่อให้ได้ยาที่ถูกโรคกัน ส่วนการนำหลักธาตุเจ้าเรือนมาใช้กับศาสตร์อโรมาเธอราพีนี้ เป็นทฤษฎีของ ดร.มาร์ติน เฮงไลน์ (Dr. Martin Henglein)  จากสถาบัน  International School of Aromatherapy and Osmology Germany (ISAO Germany)  นักอโรมาเธอราพิสต์ในสายของกัตเตอร์ฟอสเซ่

การหาธาตุเจ้าเรือน ใช้การคำนวณจากเวลาปฏิสนธิในครรภ์มารดา แต่เพื่อความสะดวก จึงจัดทำเป็นตารางโดยดูจากเดือนเกิด


    พฤษภาคม     มิถุนายน     กรกฎาคม     มีธาตุเจ้าเรือนเป็น     ธาตุลม
    สิงหาคม     กันยายน     ตุลาคม     มีธาตุเจ้าเรือนเป็น           ธาตุน้ำ
    พฤศจิกายน     ธันวาคม     มกราคม     มีธาตุเจ้าเรือนเป็น      ธาตุดิน
    กุมภาพันธ์     มีนาคม     เมษายน     มีธาตุเจ้าเรือนเป็น         ธาตุไฟ

ธาตุเจ้าเรือนจากเดือนเกิดเรียกว่า ธาตุเจ้าเรือนกำเนิด เมื่อหาได้แล้ว ให้ตรวจดูว่า ลักษณะทางสุขภาพยังตรงกับธาตุเจ้าเรือนกำเนิดหรือไม่

ธาตุเจ้าเรือนดิน บุคลิกค่อนข้างนิ่งๆ เงียบๆ ทำอะไรค่อนข้างเฉื่อย ปัญหาสุขภาพที่มี- มีปัญหาการขับถ่ายยาก ปวดเมื่อย ปวดข้อ

ธาตุเจ้าเรือนน้ำ บุคลิกค่อนข้างรักความสบายๆ อ่อนไหว โรแมนติค ปัญหาสุขภาพที่มี-มักเป็นคนขี้หนาว เป็นหวัดง่าย ความดันโลหิตสูง

ธาตุเจ้าเรือนลม บุคลิกเป็นคนทำอะไรเร็ว เปลี่ยนแปลงเร็ว ปัญหาสุขภาพที่มี-มักท้องอืดท้องเฟ้อ มีลมมาก
ธาตุเจ้าเรือนไฟ บุคลิกเป็นคนเร็วคล้ายธาตุลม แต่ปนความร้อนแรง กร้าวมากกว่า ไม่ค่อยยอมใคร ตัดสินใจเร็ว ปัญหาสุขภาพที่มี-มักร้อนในง่าย เป็นแผลเปื่อย แผลในปากบ่อย ความดันโลหิตต่ำ

หากลักษณะปัจจุบันไม่ตรงกับธาตุเจ้าเรือนกำเนิด แสดงว่าธาตุเจ้าเรือนมีการเปลี่ยนแปลง เราเรียกลักษณะปัจจุบันว่า ธาตุเจ้าเรือนปัจจุบัน

การเลือกใช้น้ำมันหอมตามหลักธาตุเจ้าเรือน ให้ยึดธาตุเจ้าเรือนกำเนิดเป็นหลัก ยกเว้นว่า ธาตุเจ้าเรือนเปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม ได้แก่ น้ำ-ไฟ และ ดิน-ลม จึงให้เลือกใช้จากธาตุเจ้าเรือนปัจจุบัน

 น้ำมันหอมแยกตามธาตุเจ้าเรือน

 ดร.มาร์ติน ได้กำหนดให้น้ำมันหอมแต่ละชนิดอยู่ในผังตามธาตุเจ้าเรือน โดยบางชนิดก็จะอยู่ในธาตุเจ้าเรือนนั้นๆ โดยตรง บางชนิดก็คาบเกี่ยวกัน เช่น มะลิและกระดังงา เป็นทั้งธาตุเจ้าเรือนดินและน้ำ เป็นต้น ส่วนน้ำมันหอมที่เป็นกลางเข้ากับทุกธาตุได้แก่ กุหลาบและคาโมไมล์



ตารางแสดงสรรพคุณกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยกับธาตุเจ้าเรือน



ชื่อ


ธาตุเจ้าเรือน

สรรพคุณ


Basil

ลม, น้ำ



แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
รูมาติสซึม หลอดลมอักเสบ ไอ ปวดหู ไซนัส

โหระพา

ท้องเสีย ท้องอืด
คลื่นไส้ เป็นไข้ ไข้หวัดใหญ่ และโรคติดเชื้อ

Ocimum basilicum


ข้อควรระวัง
ปริมาณมากทำให้เวียนหัว
 

Benzoin


น้ำ

เหมาะกับผิวแห้งและแตก
บำรุงปอด ดีกับโรคทางเดินลมหายใจ
 


กำยาน

หอบหืด 

Styrax benzoin

Bergamot

ลม

ทำให้สงบและเบิกบาน
ลดการหดหู่ซึมเศร้าและวิตกกังวล
 

มะกรูดฝรั่ง


Citrus bergamia

ข้อควรระวัง หากทาผิวให้เลี่ยงแดดอย่างน้อย
4 ชม.

Black pepper


ไฟ

กระตุ้น
ทำให้ประสาทและจิตใจเข้มแข็ง บำรุงกล้ามเนื้อ ดีกับการ

พริกไทยดำ

ปวดกล้ามเนื้อ
หรือใช้อบอุ่นก่อนเล่นกีฬา ทำให้เจริญอาหาร ขับลม

Piper nigrum

ดีกับระบบทางเดินลมหายใจ



Cajuput

ไฟ

ใช้บรรเทารูมาติสซึม ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เก๊าต์

เส้นเลือดขอด

เสม็ดขาว

แมลงกัดต่อย
เหมาะกับผิวมัน บรรเทาหอบหืด คัดจมูก และท้องอืด

Melaleuca leucadendron


สร้างภูมิต้านทาน

ข้อควรระวัง
คนท้องระมัดระวังในการใช้

Camomile, German


กลาง

เหมาะกับทุกสภาพผิว
ไม่ว่าจะเป็นผิวบอบบาง แพ้ง่าย มีบาดแผล

คาโมไมล์,เยอรมัน

ติดเชื้อรา
ดีกับข้อต่อที่อักเสบและบวม


Matricaria chamomilla


Camomile, Roman

กลาง

ทำให้สงบและบรรเทา เหมาะสำหรับการปวดประจำเดือน
ปวดข้อ
 


คาโมไมล์,โรมัน

ปวดประสาท ปวดหัว
ภาวะผิวเป็นผื่นแพ้ สิว ดีกับผิวแห้งและคัน

Chamaemelum nobile


ปลอดภัยสำหรับเด็ก

ข้อควรระวัง
มีครรภ์อ่อนให้หลีกเลี่ยง

Cardamom


ลม

อบอุ่นจิตใจ บรรเทาการปวดกระเพาะ
ปวดท้อง ท้องอืด จุกเสียด

กระวาน

Elettaria cardamomum

Carrot seed

น้ำ,ดิน?

ดีกับภาวะผิวมีปัญหาผื่นแพ้
และบำรุงผิวมีอายุ

เมล็ดแครอท

Daucus carota

ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในคนท้อง



Cedarwood, Atlas

ดิน

ทำให้ร่างกายสมดุล
ระงับเชื้อ ขับปัสสาวะ ลดเซลลูไลต์ ใช้กับ


ซีดาร์วูด

หลอดลมอักเสบ คัดจมูก
ลดการปวดกล้ามเนื้อ บำรุงผิว รักษาสิว

Cedrus atlantica


ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในคนท้อง

Celery seed


น้ำ

ทำให้ประสาทส่วนกลางสงบและบำรุง
ขับสารพิษในร่างกาย


คึ่นฉ่าย

บำรุงระบบย่อยและระบบสืบพันธุ์

Apium graveolens

ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในคนท้อง

Cinnamon 


ไฟ

ดีกับระบบย่อย
ลดการปวดท้อง จุกเสียด ท้องอืด ท้องเสียและ

อบเชย

คลื่นไส้
ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อและปวดข้อรูมาติสซึม
 


Cinnamomum zeylanicum

ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในคนท้อง ใช้ด้วยความระมัดระวัง

Citronella

ไฟ, ลม


ไล่แมลง ขจัดกลิ่น
เหมาะใช้กับเท้าที่เมื่อยล้าและมีเหงื่อออกมาก

ตะไคร้หอม


Cymbopogon nardus


ข้อควรระวัง
อาจทำให้ผิวระคายเคือง

Clary sage


ไฟ,ดิน

เหมาะกับอาการซึมเศร้า
ประจำเดือนไม่ปกติ ปวดประจำเดือน

แคลรี่เสจ

อาการก่อนประจำเดือนมา
ความดันสูง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

Salvia sclarea

ลดปวดหัวและไมเกรน 


ข้อควรระวัง
ครรภ์อ่อนให้หลีกเลี่ยง
, ห้ามใช้ร่วมกับเครื่องดื่มอัลกอฮอล์


Clove

ไฟ


บรรเทาปวด
ไม่ว่าจะเป็นรูมาติสซึม ปวดข้อ ปวดฟัน ปวดประสาท


กานพลู

เหงือกอักเสบ สิว
แผลเปื่อย ระงับเชื้อ ช่วยป้องกันโรค ดีกับคนที่

Syzygium leucadendron

ไทยรอยด์ไม่สมดุล


ข้อควรระวัง
ระคายเคืองผิวหากเข้มข้น

Coriander

น้ำ

ช่วยรักษาไมเกรน
ปวดประสาท ประสาทอ่อนล้า ปวดกล้ามเนื้อ

ผักชี

พิษสะสมและการหมุนเวียนเลือดไม่ดี
บำรุงระบบภูมิต้านทาน

Coriandrum sativum


Cypress

ดิน


ระงับเชื้อและขับปัสสาวะ
เหมาะกับระบบหมุนเวียนโลหิต เซลลูไลท์

ไซเพรส

และเส้นเลือดขอด
ปรับสีผิวและขจัดพิษ เหมาะกับผิวมัน

Cupressus sempervirens


Elemi

ไฟ


ดีกับการเป็นหวัดและไข้หวัดใหญ่
ใช้กับแผลติดเชื้อได้

เอเลมี่

Canarium luzonicum

Eucalyptus

ไฟ

กระตุ้น ระงับเชื้อ
ระงับการอักเสบ ใช้รักษาโรคทางเดินหายใจ ดีกับ


ยูคาลิปตัส


ไซนัสและหวัด
บรรเทาการปวดข้อ รูมาติสซึม และปวดกล้ามเนื้อ

Eucalyptus globulus


ข้อควรระวัง
ไม่เหมาะกับทารกและเด็กเล็ก

Fennel, sweet


น้ำ

ขจัดพิษ แก้เมาค้าง
ขับปัสสาวะ มีประโยชน์ในการลดน้ำหนักและ


เทียนข้าวเปลือก,ยี่หร่าหวาน

เซลลูไลต์ ช่วยย่อย ลดท้องอืด ดีกับอาการก่อนมีประจำเดือน
ประจำ

Foeniculum vulgare


เดือนไม่ปกติ
อาการวัยทอง และเฉื่อยชาทางเพศ
 

ข้อควระวัง ห้ามใช้ในคนท้อง,เด็กเล็ก,เป็นลมบ้าหมู,อัลกอฮอลิสซึม


โรคตับ
และผู้ใช้ยาพาราเซตามอล

Frankincense

ไฟ

สมดุล ลดการเครียด
ลดริ้วรอย ดีกับอาการหอบหืด และปวดข้อ

แฟรงคินเซ้นส์

Boswellia carteri

Geranium

น้ำ

สมดุล
ช่วยบรรเทาการปวดประจำเดือน อาการวัยทอง หวัด
 


เจอเรเนียม

ปัญหาผิว วิตกกังวล
ฟื้นฟูร่างกายและปรับความสมดุลของฮอร์โมน

Pelargonium graveolens


Ginger

ไฟ


ดีกับการคัดจมูก ไอ
เจ็บคอ ท้องเสีย จุกเสียด ท้องอืด อาหารไม่ย่อย

ขิง

เบื่ออาหาร
ลดการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และการหมุนเวียนโลหิตไม่

Zingiber officinale


ดี บรรเทาประสาทอ่อนล้า

Grapefruit


ลม

ทำให้สดชื่น
ลดการซึมเศร้า กระตุ้นภูมิต้านทานและระบบน้ำเหลือง


เกร๊พฟรุ๊ต

ดีกับการลดเซลลูไลต์

Citrus paradisi

ข้อควรระวัง
หากทาผิวงดตากแดดอย่างน้อย
4
ชม.



Immortelle/ Everlasting

น้ำ?

ดีกับอาการซึมเศร้า ช็อค กลัว รวมทั้งอาการปวด ฟื้นฟูผิวจึงเหมาะ


อิมมอร์เทล,เอเวอร์ลาสติ้ง

กับแผลเป็น สิว
ใช้กับหวัดและไข้หวัดใหญ่ได้ด้วย

Helichrysum angustifolium


Jasmine absolute

น้ำ, ดิน

ทำให้อบอุ่นเบิกบาน
บรรเทาอาการซึมเศร้า
, ซึมเศร้าหลังคลอด

มะลิ


ขาดความมั่นใจและอารมณ์ไม่สมดุล
บรรเทาและเพิ่มความชุ่มชื้น


Jasminum grandiflorum

แก่ผิวแห้ง

ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในคนท้อง

Juniper berry

ไฟ,ดิน


กระตุ้นและทำให้ประสาทแข็งแรง
ขับปัสสาวะอย่างแรงและระงับเชื้อ

จูนิเปอร์

มีประโยชน์กับนิ่ว เซลลูไลต์และบวมน้ำ ขจัดพิษ ขจัดกรดยูริคช่วย

Juniperus communis

ในกรณีของรูมาติสซึม และเก๊าต์ เหมาะกับผิวมัน
บรรเทาสิว
,รูขุมขน


อุดตัน ผื่นแพ้
และการบวม

ข้อควรระวัง
ครรภ์อ่อนให้หลีกเลี่ยง ผู้ป่วยโรคไตห้ามใช้

Lavandin

น้ำ


ทำให้สดชื่น

ลาเวนดิน

ช่วยบรรเทาการปวดเคล็ดกล้ามเนื้อ
แก้ปวดข้อ

Lavandula x intermedia


บรรเทาอาการในระบบทางเดินหายใจ

Lavender


น้ำ

มีประโยชน์หลากหลายมาก
ทำให้สงบ นอนหลับ คลายเครียด แก้
 


ลาเวนเดอร์

ปวดหัว, ไมเกรน รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
รักษาโรคทางเดิน

Lavandula angustifolia


หายใจ หอบหืด ปวดข้อ
แมลงกัด

ข้อควรระวัง
ครรภ์อ่อนให้หลีกเลี่ยง


Lavender, spike

น้ำ


ทำให้สงบแต่ตื่นตัว
เหมาะกับอาการหวัด สร้างภูมิต้านทาน

ลาเวนเดอร์สไปค์


ดีมากกับการปวดกล้ามเนื้อ
ทำให้ผิวสะอาดและฆ่าเชื้อรา


Lavandula latifolia

ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในคนท้อง
 

Lemon


ลม

บรรเทาการวิตกกังวล
ซึมเศร้าและสับสน กระตุ้นภูมิต้านทานและ

มะนาวฝรั่ง

ระบบประสาท
ฟอกเลือดและน้ำเหลือง บำรุงตับ
,ถุงน้ำดี,ตับอ่อน


Citrus limon


และระบบหมุนเวียนโลหิต  ระงับเชื้อช่วยรักษาแผล
ช่วยย่อย


ลดการสะสมของกรมและคอเลสเตอรอลในร่างกาย


ข้อควรระวัง หากทาผิว
งดตากแดดอย่างน้อย
4 ชม.

Lemongrass

ลม, ไฟ

ไล่แมลง ขจัดกลิ่น
ระงับเชื้อ เหมาะกับอาการน้ำกัดเท้าและเหงื่อ

ตะไคร้

ออกมาก

Cymbopogon citratus

Lime


ลม

บรรเทาความวิตกกังวลและซึมเศร้า
ช่วยฟื้นฟูหลังอาการป่วย

มะนาวไทย

ข้อควรระวัง หลังทาผิว
หลีกเลี่ยงแดดอย่างน้อย
4 ชม.


Citrus aurantifolia

Mandarin


ลม

ดีมากกับประสาทตึงเครียด
เหมาะกับอาการบวมน้ำ ผิวมัน

ส้มแมนดาริน

ลดริ้วรอย

Citrus reticulata

Marjoram, sweet


ไฟ

ทำให้สงบ
ดีกับอาการหืดหอบ และความดันสูง กระตุ้นกำหนัด

มาร์โจแรม

ดีกับอาการกล้ามเนื้อเกร็ง
ไมเกรน และบรรเทาปวด


Origanum majorana

ข้อควรระวัง
มีครรภ์อ่อนให้หลีกเลี่ยง

May chang

ลม, ไฟ


ทำให้เบิกบานและกระตุ้น
บำรุงหัวใจและระบบทางเดินหายใจ

ตะไคร้ต้น


เหมาะกับผิวและผมมัน 


Litsea cubeba

ข้อควรระวัง
ห้ามใช้กับผิวที่ถูกทำลายหรือติดเชื้อ และเต็กต่ำกว่า

2 ขวบ

Melissa, true/Lemon balm

ลม, น้ำ

ช่วยให้นอนหลับ
ทำให้ประสาทสงบ ช่วยย่อย แก้คลื่นไส้

เมลิสสา


บำรุงหัวใจ แก้หวัด
แก้ปวดไมเกรน แก้ภูมิแพ้โดยเฉพาะหอบหืด


Melissa officinalis

ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในคนท้อง อาจทำให้ระคายเคืองผิวบอบบาง

Myrhh


ไฟ

ระงับเชื้อ ฆ่าเชื้อรา ช่วยรักษาบาดแผล
เหมาะกับอาการในช่องปาก

เมอร์, มดยอบ

ช่วยย่อย
ช่วยรักษาอาการในระบบทางเดินลมหายใจ ฟื้นฟูผิวมีอายุ


Commiphora myrrha

ข้อควรระวัง
มีครรภ์อ่อนให้หลีกเลี่ยง

Myrtle

ไฟ

มีประโยชน์กับอาการหอบหืด
หลอดลมอักเสบ คัดจมูก ไอเรื้อรัง

เมอร์เทิล

หวัด ไข้หวัดใหญ่
และโรคติดเชื้อ

Myrtus communis


Neroli

ลม


เสริมความเชื่อมั่น
ผ่อนคลาย ลดความเครียดได้ดี บรรเทาความกลัว

เนโรลิ, ดอกส้ม


อาการซึมเศร้า ช็อค ฮีสทีเรีย
กระตุ้นกำหนัด ช่วยให้นอนหลับ


Citrus aurantium


ฟื้นฟูผิว

Niaouli (MQV)

ไฟ

กระตุ้นเนื้อเยื่อ
ทำให้เลือดหมุนเวียนในบริเวณที่ทา เพิ่มการทำงาน

นิเอาลิ

ของเม็ดเลือดขาวและภูมิต้านทาน
ดีสำหรับการติดเชื้อในระบบทาง

Melaleuca viridiflora


เดินหายใจ

ข้อควรระวัง
ใช้อย่างระมัดระวังกับหญิงมีครรภ์และเด็กเล็ก

Orange, bitter


ลม

ทำให้จิตใจแจ่มใส
อารมณ์สมดุล ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

Orange, sweet

ช่วยขับน้ำเหลืองและการบวมน้ำ

ส้ม

Citrus aurantium

ข้อควรระวัง
หลังทาผิวให้หลีกเลี่ยงแดดอย่างน้อย
ช.ม. 


Citrus sinensis

Palmarosa


ลม

ทำให้จิตใจแจ่มใส
ระงับเชื้อ ทำให้ผิวชุ่มชื้น ฟื้นฟูเซลล์ผิว ดีกับ

ปาล์มโรซ่า

ปัญหาสิวและผิวพรรณ
ช่วยย่อย
 

Cymbopogon martinii

Patchouli


ดิน

กระตุ้นกำหนัด
บรรเทาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ลดความ

แพทชูลี่, พิมเสนต้น

เฉื่อยชา สับสน
และซึมเศร้า ลดเครียดและวิตกกังวล ทำให้สงบ


Pogostemon patchouli

ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย
ฟื้นฟูเซลล์ผิว ดีกับผิวมีอายุ ผิวแตก สิว


มีรังแค และผื่นแพ้

Peppermint


ลม

ทำให้สดชื่น
กระตุ้นจิตใจ ช่วยให้มีความตั้งใจ แก้ปวดหัวคลื่นไส้


เปปเปอร์มินต์

ดีมากกับระบบย่อย แก้ไข้
หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทำให้ผิวสะอาด

Mentha x piperita

ลดความปวดของกล้ามเนื้อ
ข้อต่อ และปวดประจำเดือน


ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในเด็กเล็กและทารก อาจระคายผิว

Petitgrain


ลม

ทำให้แจ่มใสและลดความล้าของจิตใจ
ช่วยให้นอนหลับ ช่วยย่อย

เพตติตเกรน, ใบส้ม

ทำให้ประสาทสงบ บำรุงผิว
แก้สิว


Citrus aurantium

Pine


ลม, ไฟ

ช่วยให้ประสาทหายเหนื่อยล้าหมดแรง
ดีกับระบบหมุนเวียนโลหิต

ไพน์

แก้หลอดลมอักเสบ หวัด
หอบหืดและไซนัส เหมาะระเหยในอากาศ


Pinus sylvestris

เพื่อฆ่าเชื้อโรค

Rose

กลาง

กระตุ้นกำหนัด
ลดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ลดความเครียด

กุหลาบ

ซึมเศร้า โศกเศร้า
ปรับระบบสืบพันธุ์ของหญิง บำรุงระบบหมุนเวียน
 

Rosa damascena


โลหิต
ระบบประสาทและระบบย่อย ฟื้นฟูเซลล์ผิว
 

Rosemary


ไฟ

กระตุ้น
ดีกับกล้ามเนื้อที่เจ็บปวด และรูมาติสซึม
ช่วยทำให้ระบบหมุน

โรสแมรี่

เวียนโลหิตดีขึ้น แก้การเหนื่อยล้าทั้งกายและใจ
แก้ผมร่วง ช่วยเพิ่ม

Rosmarinus officinalis


ความดันโลหิต

ข้อควรระวัง
ห้ามใช้กับผู้เป็นลมชัก ความดันสูง และมีครรภ์


Rosewood,Bois de Rose


ดิน,ไฟ

ทำให้แจ่มใส คลายเครียด
กระตุ้นกำหนัด ลดการเสื่อมสมรรถภาพ

โรสวูด

ทางเพศ แก้ปวดหัว
คลื่นไส้ กำจัดกลิ่น ฟื้นฟูเซลล์ผิว ช่วยลดริ้วรอย

Aniba rosaeaodora


บำรุงผิว

Sandalwood

ดิน, ไฟ

ทำให้เกิดสมาธิ ผ่อนคลาย
ช่วยลดอาการซึมเศร้า ความเครียดและกลัว

ไม้จันทน์

กระตุ้นกำหนัด และทำให้ภูมิต้านทานแข็งแรง
ดีกับระบบปัสสาวะ

Santalum album


อักเสบ แก้เจ็บคอ
หลอดลมอักเสบ ดีกับผิวแห้ง ฝาดสมานสำหรับ

ผิวมันและเป็นสิว

Spearmint


ลม

ช่วยให้หายเหนื่อย
บรรเทาปัญหาระบบย่อย แก้คลื่นไส้อาเจียน

สเปียร์มินต์

ช่วยย่อย แก้ปวดหัว
แก้คัน

Mentha spicata

Tangerine


ลม

คลายเครียด
ช่วยปรับระบบย่อย ขับลม ลดความปวดเมื่อย บำรุงผิว

ส้มแทงเจอรีน

ลดรอยแผลเป็น 


Citrus reticulata


ข้อควรระวัง
หลังทาผิวให้เลี่ยงแสงแดดอย่างน้อย
4 ชั่วโมง

Tea tree

ไฟ

กระตุ้น
ดีกับการติดเชื้อรา เล็บติดเชื้อ น้ำกัดเท้า ปากเปื่อย สิว จุด

ทีทรี


ด่างดำ แมลงกัดต่อย
และระบบภูมิต้านทาน ดีกับระบบทางเดินหายใจ


Melaleuca alternifolia

ข้อควรระวัง
อาจระคายเคืองหากใช้มากเกินไป

Thyme, common


ไฟ

ดีกับอาการหลอดลมอักเสบ
ไซนัส ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นแพ้ทั้งแบบแห้ง

ไทม์

และแผลแฉะ เจ็บคอ
ทอนซิลอักเสบ สิวอักเสบ มีผลดีกับคนที่ติดเชื้อ

Thymus vulgaris

ไวรัส เหนื่อยล้า และนอนไม่หลับ



Vetiver

ดิน

ใช้กับการติดเชื้อทั่วไป
ผิวอักเสบ สิว ทำให้สงบ และช่วยทำให้


แฝกหอม


ออร่าชิลด์แข็งแรงขึ้น

Vetiveria zizanioides


Ylang ylang

ดิน, น้ำ


กระตุ้นกำหนัด
ทำให้อารมณ์ดี ลดความดันโลหิต ลดการเสื่อม

กระดังงา


สมรรถภาพทางเพศ อาการก่อนประจำเดือนมา
ซึมเศร้า ฉุนเฉียว


Cananga odorata

หงุดหงิด และอ่อนไหวง่าย
ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก ทำให้ผิวมันดีขึ้น

ข้อควรระวัง
ใช้มากทำให้เวียนหัวคลื่นไส้




ขอขอบคุณ : http://content.weloveshopping.com
                  http://www.aromamodaka.com/Aroma.htm
                  http://essential-oil.com/th/aromatherapy-facts_touchstone-techniques
                  -4-ways-  to-test-the-quality-of-essential-oils_740.html




Comment